โครงสร้างของสัตว์


                โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์สัตว์ต่าง ๆ เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่ที่แตกต่างกัน และสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้บางชนิดมีเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ยังไม่มีการพัฒนาให้เห็นได้ชัดเจน แต่บางชนิดก็มีการพัฒนาให้เห็นได้อย่างชัดเจน มีความซับซ้อนของโครงสร้างของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีผลทำให้ระบบต่าง ๆ มีส่วนประกอบของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไปด้วย


1. ระบบย่อยอาหารของสัตว์

1.1 การย่อยอาหารในสัตว์มีกระดูกสันหลัง
สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด เช่น ปลา กบ กิ้งก่า แมว จะมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ซึ่งทางเดินอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลังประกอบด้วย
ปาก >หลอดอาหาร > กระเพาะอาหาร > ลำไส้เล็ก > ทวารหนัก


      รูปแสดงทางเดินอาหารของหมู
อ้างอิง: http://elearning.nsru.ac.th/web_elearning/animals/image_lesson/7/7.10.png

1.2 การย่อยอาหารในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
1.2.1 การย่อยอาหารในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์
ลักษณะทางเดินอาหารและการย่อยอาหาร
1. ฟองน้ำ
- ยังไม่มีทางเดินอาหาร แต่มีเซลล์พิเศษอยู่ผนังด้านในของฟองน้ำ เรียกว่า เซลล์ปลอกคอ
(Collar Cell) ทำหน้าที่จับอาหาร แล้วสร้างแวคิวโอลอาหาร (Food Vacuole) เพื่อย่อยอาหาร
2. ไฮดรา แมงกะพรุน ซีแอนนีโมนี
- มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ มีปาก แต่ไม่มีทวารหนัก อาหารจะผ่านบริเวณปากเข้าไปในช่องลำตัวที่เรียกว่า ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์ (Gastro vascular Cavity) ซึ่งจะย่อยอาหารที่บริเวณช่องนี้ และกากอาหารจะถูกขับออกทางเดิมคือ ปาก
3. หนอนตัวแบน เช่น พลานาเรีย พยาธิใบไม้


1.2.2 การย่อยอาหารในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ชนิดของสัตว์

ลักษณะทางเดินอาหารและการย่อยอาหาร
1. หนอนตัวกลม เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย
- เป็นพวกแรกที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ คือ มีช่องปากและช่องทวารหนักแยกออกจากกัน
2. หนอนตัวกลมมีปล้อง เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด และแมลง
- มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ และมีโครงสร้างทางเดนอาหารที่มีลักษณะเฉพาะแต่ละส่วนมากขึ้น




2. ระบบหมุนเวียนเลือดในสัตว์
         ในสัตว์ชั้นสูงมีระบบหมุนเวียนเลือดซึ่งประกอบด้วยหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ
ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีหลอดเลือดเป็นทางลำเลียงเลือด
ไปทั่วทุกเซลล์ของร่างกาย แต่ในสัตว์บางชนิดใช้ช่องว่างระหว่างอวัยวะเป็นทางผ่านของเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดมี 2 แบบ ดังนี้



2.1 ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด (Closed Circulation System)
ระบบนี้เลือดจะไหลอยู่ภายในหลอดเลือดตลอดเวลา
 โดยเลือดจะไหลออกจาหัวใจไปตามหลอดเลือดชนิดต่าง ๆ 
แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจใหม่เช่นนี้เรื่อยไป 
พบในสัตว์จำพวกหนอนตัวกลมมีปล้อง เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด
 และสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด














2.2 ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด (Open Circulation System) ระบบนี้เลือดที่ไหลออกจากหัวใจจะไม่อยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลาเหมือนวงจรปิด โดยจะมีเลือดไหลเข้าไปในช่องว่างลำตัวและที่ว่างระหว่าอวัยวะต่าง ๆ พบในสัตว์จำพวกแมลง กุ้ง ปู และหอย




3. ระบบหายใจในสัตว์
สัตว์ต่าง ๆ จะแลกเปลี่ยนก๊าซกับสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการแพร่ (Diffusion)
 โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต
และสิ่งแวดล้อมต่างกัน


4. ระบบขับถ่ายในสัตว์

        ในเซลล์หรือในร่างกายของสัตว์ต่าง ๆ จะมีปฏิกิริยาเคมีจำนวนมากเกิดขึ้นตลอดเวลา
และผลจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้ จะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต
และของเสียที่ต้องกำจัดออกด้วยการขับถ่าย สัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะ
และกระบวนการกำจัดของเสียออกนอกร่างกายแตกต่างกันออกไป
สัตว์ชั้นต่ำที่มีโครงสร้างง่าย ๆ เซลล์ที่ทำหน้าที่กำจัดของเสียจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง
ส่วนสัตว์ชั้นสูงที่มีโครงสร้างซับซ้อน การกำจัดของเสียจะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่เฉพาะ
ระบบขับถ่ายของสัตว์ชนิดต่าง ๆ


5. ระบบประสาท
      ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งงาน การติดต่อเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม
การรับคำสั่งและการปรับระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำกิจกรรมได้ถูกต้องเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อม
ที่แตกต่างกันระบบประสาทของสัตว์ชนิดต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

 1. ฟองน้ำ ไม่มีระบบประสาท
2. ไฮดรา แมงกะพรุน เป็นพวกแรกที่มีเซลล์ประสาท โดยเซลล์ประสาทเชื่อมโยงกันคล้ายร่างแห
เรียกว่า ร่างแหประสาท (Nerve Net)
3. หนอนตัวแบน เช่น พลานาเรีย เป็นพวกแรกที่มีระบบประสาทเป็นศูนย์ควบคุมอยู่บริเวณหัว
และมีเส้นประสาทแยกออกไป ซึ่งจะมีระบบประสาทแบบขั้นบันได (Ladder Type System)
4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เช่น ไส้เดือนดิน แมลง หอย มีปมประสาท (Nerve Ganglion)
 บริเวณส่วนหัวมากขึ้น และเรียงต่อกันเป็นวงแหวนรอบคอหอยหรือหลอดอาหาร
ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางระบบประสาท และมีเส้นประสาททอดยาวตลอดลำตัว
5. สัตว์มีกระดูกสันหลัง มีสมองและไขสันหลังเป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของร่างกาย
มีเซลล์ประสาทและเส้นประสาทอยู่ทุกส่วนของร่างกาย



6. ระบบสืบพันธุ์ในสัตว์

ประเภทของการสืบพันธุ์ของสัตว์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual Reproduction)
         เป็นการสืบพันธุ์โดยการผลิตหน่วยสิ่งมีชีวิตจากหน่วยสางมีชีวิตเดิมด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่
จากการใช้เซลล์สืบพันธุ์ ได้แก่ การแตกหน่อ การงอกใหม่ การขาดออกเป็นท่อน และพาร์ธีโนเจเนซิส

2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual Reproduction)
         เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
 เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ ได้แก่ การสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำบางพวก และสัตว์ชั้นสูงทุกชนิด
สัตว์บางชนิดสามารถสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ
เช่น ไฮดรา การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดราจะใช้วิธีการแตกหน่อ


7. ระบบโครงกระดูกและการเจริญเติบโตของสัตว์
ประเภทของโครงกระดูกหรือโครงร่างแข็งของสัตว์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. โครงร่างแข็งที่อยู่ภายนอกร่างกาย (Exoskeleton) พบได้ในแมลง เปลือกกุ้ง ปู หอย
เกล็ดและกระดองสัตว์ต่าง ๆ มีหน้าที่ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับอวัยวะที่อยู่ภายใน
2. โครงร่างแข็งที่อยู่ภายในร่างกาย (Endoskeleton) ได้แก่ โครงกระดูกของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งหมด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น